เกี่ยวกับ สถาบันการอาชีวศึกษา ภาคใต้ 1

วิสัยทัศน์
"สถาบันการศึกษาชั้นนำ ด้านวิชาชีพและการวิจัยเพื่อชุมชนและสังคม ในระดับชาติ"

พันธกิจ
1. ผลิตและพัฒนากำลังคนด้านวิชาชีพที่มีคุณภาพ
2. พัฒนางานวิจัยและนวัตกรรม
3. บริการวิชาการ วิชาชีพ สู่ชุมชนและสังคม
4. ทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรมและภูมิปัญญาท้องถิ่น
5. บริหารจัดการที่มีคุณภาพตามหลักธรรมาภิบาล
ข้อมูลทั่วไปของสถาบันการอาชีวศึกษาภาคใต้ 1
สถาบันการอาชีวศึกษาภาาคใต้ 1 เกิดจากการรวมกลุ่มสถานศึกษาจัดตั้งตามความในมาตรา 13 ของพระราชบัญญัติการอาชีวศึกษา พุทธศักราช 2551 ให้จัดตั้งสถาบันการอาชีวศึกษาภาคใต้ 1 มีจำนวนสถานศึกษา ทั้งสิน 11 แห่ง ประกอบด้วย
1. วิทยาลัยเทคนิคชุมพร
2. วิทยาลัยเทคนิคสุราษฎร์ธานี
3. วิทยาลัยอาชีวศึกษาสุราษฎร์ธานี
4. วิทยาลัยเทคนิคนครศรีธรรมราช
5. วิทยาลัยอาชีวศึกษานครศรีธรรมราช
6. วิทยาลัยศิลปหัตถกรรมนครศรีธรรมราช
7. วิทยาลัยเทคนิคทุ่งสง
8. วิทยาลัยเทคนิคสิชล
9. วิทยาลัยเทคโนโลยีและอุตสาหกรรมการต่อเรือนครศรีธรรมราช
10. วิทยาลัยการอาชีพนครศรีธรรมราช
11. วิทยาลัยเทคนิคพัทลุง

วัตถุประสงค์การจัดตั้งสถาบันการอาชีวศึกษาภาคใต้ 1 ดังนี้
1. เพื่อผลิตและพัฒนากำลังคนในทุกระดับด้านวิชาชีพ ระดับช่างฝีมือ ช่างเทคนิคและระดับนักเทคโนโลยีสายปฏิบัติการที่มีคุณภาพทุกด้าน ได้แก่ ด้านคุณลักษณะอันพึงประสงค์ ด้านสมรรถนะหลักและสมรรถนะทั่วไป และด้านสมรรถนะวิชาชีพ ตามมาตรฐานคุณวุฒิสนองความต้องการกำลังในการพัฒนาประเทศสอดคล้องกับแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
2. เพื่อพัฒนาความรู้ ทักษฝีมือ เทคโนโลยีการผลิต และเป็นศูนย์กลางการถ่ายทอดเทคโนโลยี การพัฒนาทางวิชาการการผลิตโดยร่วมมือกับองค์กรภาครัฐ เอกชน องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น สืบสานประเพณี ค่านิยมที่สอดคล้องกับวัฒนธรรมภูมิปัญญาให้อย่างหลากหลาย
3. เพื่อสร้างแนวทางความร่วมมือ และขยายเครือข่ายความร่วมมือในการใช้ทรัพยากรร่วมกันให้เกิดประโยชน์ในการผลิตและพัฒนากำลังคนด้านอาชีวศึกษาและด้านอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับหน่วยงานทั้งในและต่างประเทศ

ผลจากวัตถุประะสงค์การจัดตั้งสถาบันการอาชีวศึกษาจะส่งผลให้การจัดการด้านอาชีวศึกษาก่อประโยชน์ต่อการพัฒนาเยาวชน ชุมชน สังคม และท้องถิ่นให้เจริญก้าวหน้า แล้วจะเกิดความพร้อมและความเชี่ยวชาญในการจัดการศึกษาด้านอาชีวศึกษาในด้านต่าง ๆ ดังต่อไปนี้
1. ความพร้อมในการผลิตกำลังคนในระดับ ปวช. ปวส. และปริญญาตรีสายเทคโนโลยีหรือสายปฏิบัติการ โดยการใช้ทรัพยากรที่มีในแต่ละสถานศึกษาร่วมกัน
2. มีเอกภาพในการพัฒนาหลักสูตรการศึกษาให้สอดคล้องกับความต้องการและท้องถิ่น เช่น การจัดการศึกษาระบบทวิภาคี และสหกิจศึกษา
3. มีเครือข่ายในการจัดการศึกษาด้านอาชีวศึกษาร่วมกันทั้งระดับสถานศึกษา สถานประกอบการใน 4 จังหวัด (ชุมพร สุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช และพัทลุง)
4. ความพร้อมในการเปิดสอนหลักสูตรปริญญาตรีสายเทคโนโลยีหรือสายปฏิบัติการตามความต้องการของตลาดแรงงานเพราะมีครูที่สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี ปริญญาโทและปริญญาเอกในแต่ละสถานศึกษา ทุกสาขาวิชา ตลอดทั้งมีครุภัณฑ์ ห้องปฏิบัติการ สถานประกอบการที่มีความพร้อมในการรองรับในการจัดการศึกษา
5. ความเชี่ยวชาญด้านการจัดการเรียนการสอน ครูมีผลงานทางวิชาการและเลื่อนวิทยฐานะ ครูชำนาญการพิเศษ ครูเชี่ยวชาญ ซึ่งจะส่งผลต่อการพัฒนาการศึกษาด้านอาชีวศึกษา
6. ความเชี่ยวชาญในการพัฒนางานวิจัยและนวัตกรรม เพื่อพัฒนาการอาชีวศึกษา โดยมีผลงานวิจัยของครู คณาจารย์และบุคลากรในสถานศึกษากลุ่มอาชีวศึกษาภาาคใต้ฝั่งอ่าวไทย

สาขาวิชาที่เปิดสอนในสถาบันการอาชีวศึกษาภาคใต้ 1
วิทยาลัยเทคนิคชุมพร
1. สาขาวิชาเทคโนโลยียานยนต์

วิทยาลัยเทคนิคสุราษฎร์ธานี
1. สาขาวิชาเทคโนโลยียานยนต์
2. สาขาวิชาเทคโนโลยีไฟฟ้า
3. สาขาวิชาเทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์
4. สาขาวิชาเทคโนโลยียาง

วิทยาลัยเทคนิคนครศรีธรรมราช
1. สาขาวิชาเทคโนโลยียานยนต์
2. สาขาวิชาเทคโนโลยีไฟฟ้า

วิทยาลัยอาชีวศึกษานครศรีธรรมราช
1. สาขาวิชาการบัญชี

วิทยาลัยเทคโนโลยีและอุตสาหกรรมการต่อเรือนครศรีธรรมราช
1. สาขาวิชาเทคโนโลยีเครื่องกลเรือ